กิจกรรมส่งเสริมการอ่านและจัดมุมหนังสือสำหรับเด็ก 0-6 ปี

4คนในปัจจุบันไม่ได้ให้ความสำคัญกับหนังสือ เนื่องจากมีสื่อและสิ่งเร้าต่างๆที่มีอิทธิพลต่อชีวิตมากขึ้นพบว่าเด็กไทยอ่านหนังสือลดลงเกือบทุกวัน เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม ความเป็นอยู่ การศึกษาและค่านิยมต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคมรวมทั้งสภาพแวดล้อมในปัจจุบันอีกด้วย ในขณะเดียวกันการเรียนรู้สิ่งต่างๆในสังคมนั้นไม่ได้มาจากการอ่านหนังสือเพียงอย่างเดียว แต่หากจะมีสื่อชนิดอื่นที่มีอิทธิพลเพิ่มขึ้นมาในสังคมอีกมากมาย เช่น อินเตอร์เน็ต อีเมล์ มือถือคอมพิวเตอร์แบบพกพา สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ และความสามารถสืบค้นหาความรู้จากสื่อนั้นได้ไม่ว่าจะเป็นความรู้ด้านวิชาการ บันเทิง หรือประสบการณ์ต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้ทุกคนมีช่องทางในการค้นหาความรู้มากขึ้นเป็นผลให้เด็กไทยอ่านหนังสือน้อยลงและหันมาศึกษาหาความรู้จากด้านอื่นมากขึ้น

เด็กไทยเริ่มมีความสนใจในการอ่านหนังสือน้อยลง เมื่อเปรีบเทียบกับอดีต อาจจะเป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัฒน์ ซึ่งมีการสื่อสารอย่างไร้พรมแดน แต่ละประเทศก็มีการพัฒนาให้ประเทศของตัวเองมีประสิทธิภาพทั้งในด้านทรัพยากรมนุษย์ เศรษฐกิจ และสิ่วแวดล้อม เมื่อโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงการรับรู้ข่าวสารก็สะดวกกว่าอดีตอย่างมาก แต่ละประเทศมีการพัฒนาในด้านต่างๆ รวมไปถึงการพัฒนาเพื่อยกระดับด้านการศึกษาของประเทศตัวเอง เพราะถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการจะสร้างทรัพยากรมนุษย์ภายในประเทศให้มีประสิทธิภาพ มีความรู้ ที่จะสามารถมาพัฒนาประเทศได้ในอนาคต ซึ่งในการพัฒนาด้านการศึกษาของแต่ละประเทศก็มีลักษณะกฏเกณฑ์ที่แตกต่างกันออกไป แล้วแต่ประชากรในประเทศว่ามีความใส่ใจสนใจแค่ไหน

การผลักดันนโยบายหนังสือและการอ่านสำหรับเด็กปฐมวัย 0-6 ปี ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมจะเป็นการแก้ไขปัญหาการเรียนหนังสือด้อยประสิทธิภาพและการอ่านหนังสือไม่ออกของเด็กไทยในระยะยาว เนื่องจากการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านในเด็กวัย 0-6 ปี มีข้อมูลยืนยันแล้วว่าจะช่วยทำให้เด็กอ่านหนังสือได้โดยอัตโนมัติก่อนเข้าโรงเรียน เพราะสมองของเด็กในวันนี้เติบโตสูงสุดกว่า 80% ของชีวิตมนุษย์ และทำให้เด็กมีนิสัยรักการอ่านติดตัวไปจนโต ช่วยให้เด็กเกิดจินตนาการ มีโลกทัศน์อันกว้างใหญ่ เกิดทักษะด้านภาษา และมีอุปนิสัยที่พึงประสงค์ของสังคม