การอ่านเป็นปัจจัยสำคัญ ที่สามารถช่วยให้สังคมไทย พัฒนาไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ การอ่านนั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ ในทุกๆปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการคิด หรือกระทำสิ่งใดนั้น ย่อมต้องอาศัยการอ่านเป็นสำคัญวัยรุ่นไทยนับได้ว่าเป็นกลุ่มที่มีบทบาทเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้ ความสามารถในการอ่านเป็นอย่างดี เพื่อที่จะเป็นกำลังสำคัญของชาติในการพัฒนาประเทศให้ก้าวไปสู่ความเป็นสากลมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่จะเห็นได้ว่าปัจจุบันนี้มีสื่อหลากหลายรูปแบบ ทั้งที่มีประโยชน์ และเพื่อความบันเทิง วัยรุ่นไทยสามารถที่จะเลือกอ่านในสิ่งที่ตนเองชอบ และสนใจได้อย่างกว้างขวาง สื่อที่วัยรุ่นไทยเลือกอ่านนั้น ส่วนใหญ่มักเป็นสื่อ ประเภทบันเทิง ฉาบฉวย และหวือหวา ซึ่งสื่อเหล่านี้ นับว่าเป็นสื่อที่เข้ามามีบทบาทต่อการอ่าน ของวัยรุ่นไทยเป็นอย่างมาก การอ่านนั้นมีความจำเป็นต่อคนทุกระดับ เพราะไม่ว่าใครก็จำเป็นที่จะต้องอ่านกันทั้งนั้น เช่นการอ่านแผ่นป้ายโฆษณา การอ่านข้อความ การอ่านหนังสือพิมพ์ การอ่านคำกล่าวรายงาน หรือแม้กระทั่งการอ่านเรื่องใกล้ตัวอย่างชื่อของตนเอง เป็นต้น
การอ่านนั้นสามารถส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาของระบบสมอง เพราะเมื่อคนเราอ่านมากเท่าไร สมองก็จะสามารถจดจำและพัฒนาได้มากขึ้นเท่านั้น การอ่านเพื่อพัฒนาการที่ดีนั้น ควรเริ่มตั้งแต่วัยเยาว์ การได้พบ ได้ฟัง ได้พูด หรือได้อ่านนั้นเปรียบเสมือนการได้ฝึกฝนทักษะการอ่านเบื้องต้นเป็นอย่างดี การอ่านโดยทั่วไปมีจุดประสงค์สำคัญคือ เป็นการอ่านเพื่อเก็บความรู้ เป็นการอ่านเพื่อจดจำเอาสาระสำคัญต่างๆมารวบรวมกันไว้เป็นความรู้รอบตัว เพื่อจะสามารถนำไปใช้ได้ในโอกาสต่างๆ การอ่านเพื่อวิเคราะห์ คือ การอ่านโดยพิจารณาส่วนต่างๆ ของบทเพื่อให้เกิด ความเข้าใจอย่างละเอียดถี่ถ้วนต้องอ่าน ซ้ำหลายๆครั้ง เหล่านี้มักใช้ในการอ่านหนังสือเชิงวิชาการ การอ่านเพื่อตีความ เมื่ออ่านรู้เรื่องแล้วก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตีความ การตีความนั้นมักเป็นไปตามประสบการณ์ และ ความรู้สึกของผู้อ่านแต่ละคน เมื่ออ่านได้ตามจุดประสงค์สำคัญดังกล่าวแล้ว ก็ยังจะต้องมีการประเมินค่าในสิ่งที่อ่านด้วย การประเมินค่า คือ การชี้แจงบอกกล่าวว่าสิ่งไหนมีความดีด้านใด บกพร่องในด้านใด สำหรับการประเมินค่าต้องพิจารณารูปแบบสื่อที่อ่านนั้นให้ดีเสียก่อน แล้วจึงพิจารณาว่า จุดประสงค์ในการสร้างสรรค์ของสื่อนั้นคืออะไร เมื่อจะประเมินค่าสิ่งที่ได้อ่าน ต้องพิจารณารูปแบบ และจุดประสงค์ในการผลิต การประเมินค่าของเราไม่คำนึงว่าจะถูกต้องหรือไม่ ตรงกับความคิดเห็นของใครและควรพิจารณาส่วนต่างๆ ของสื่อที่อ่านอย่างละเอียดถี่ถ้วน