ในการทำหนังสือใครจะเชื่อล่ะว่าปกคือส่วนที่ได้รับงบน้อยที่สุด

10

ปัจจุบันนี้ประเทศญี่ปุ่นที่โดยปกติแล้วจะขึ้นชื่อเรื่องการให้เกียรติรุ่นพี่ในที่ทำงานหรือการทำอะไรเป็นขั้นเป็นตอนตามระบบ จะสนใจหนังสือแนวที่เรียกว่า “การสร้างชื่อให้ตนเอง” อย่างมาก เราเรียกหนังสือแบบนี้ว่าหมวด Personal Branding โดยเป้าหมายของหนังสือแบบนี้มาจากการตั้งคำถามของคนญี่ปุ่นในใจว่า ทำไมเราต้องเห็นคนกระจอกๆ ได้รับเลือกให้มีตำแหน่งดีๆ ทั้งๆ ที่เราเก่งกว่า นำไปสู่คำตอบที่ว่า “ก็เขาพรีเซนต์ตัวเองเก่งกว่าไงเหตุนี้คนญี่ปุ่นเลยพยายามหาหนังสือแบบนี้มาอ่านเพื่อปรับปรุงตัวเองแบบเนียนๆ นี่คือเรื่องใหม่มากของญี่ปุ่น ต่างจากในไทยมากที่ต่างคนพยายามพรีเซนต์ตัวเองกันสุดๆ เป็นแบบนี้มานานแล้วด้วย น้ำไว้ก่อนว่าไม่ใช่เรื่องผิดเลย มันเป็นเรื่องปกติของการทำงานเพียงแต่เราต้องเป็นคนที่ไม่โตขึ้นโดยการเหยียบหัวใคร ทำอะไรให้สุจริตเท่านั้นเอง

ปกหนังสือญี่ปุ่นแน่นอนว่าบางทีเราอาจจะแทบไม่เคยเห็นเพราะมันมักจะถูกห่อหุ้มด้วยปกกระดาษของแต่ละร้านค้าเพื่อความเป็นส่วนตัวของผู้อ่าน ในที่นี้นั่นเรามาดูรายละเอียดกันสักนิดหนึ่ง ตอนนี้นั้นกระแสของการห่อปกมีน้อยลงบ้าง เพราะแต่ละคนพบว่าการห่อปก แน่นอนว่ามันจะช่วยทำให้ปกจริงๆ ไม่เปื้อนและยังปิดไม่ให้คนอื่นรู้ด้วยว่าตนอ่านอะไร แต่หลายเจ้าที่พอเปิดออกมาก็พบว่า อ้าวปกเละแน่นอนว่าศาตร์โอริกามิทำให้การพับปกดูเท่มากที่ไม่ต้องพึ่งพาตัวยึดเลยแม้แต่นิดเดียว แต่หากมันมีช่องว่างเพียงน้ดเดียว หรือปกบางส่วนขาด สำหรับหนังสือในยุคปัจจุบันนี้ มีโอกาสปกเสียขึ้นมากเพราะอะไร ไปดูหัวข้อต่อไปกัน

ในการทำหนังสือใครจะเชื่อล่ะว่าปกคือส่วนที่ได้รับงบน้อยที่สุด เขาให้เวลาและให้ทุนไปกับการหาข้อมูลเนื้อหาภายในกันมากกว่า ทีนี้หากเราสังเกตกัน คือคนทำปกกับคนทำตัวเล่มเนี่ยมันแยกกัน (ปกญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะเป็นกระดาษปกครอบตัวเล่มอีกทีนึง) ทีนี้พวกหนังสือแบบนี้เนี่ยถ้าเราแกะปกกระดาษออก จะพบว่าปกที่ติดกับตัวเล่มผลิตอย่างโคตรลงทุนเลยล่ะ!! ยกตัวอย่างล่าสุดมีเล่มนึงเกี่ยวกับการท่องเที่ยวญี่ปุ่น ปกนอกแบบเชยมากสีแดงๆ มีรูปวัดวาอารามดอกซากุระ แต่พอแกะปกออกมาดูเท่านั้นแหละ ข้างในเป็นลายตารางสีขาว-แดง สุดชิค ให้อารมณ์เหมือนพิมพ์ประชดคนทำปกกระดาษ 555 เล่มอื่นๆ ก็เหมือนกัน ลองไปแกะมาดูกันได้